วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่6 เทคนิคการจัดนิทรรศการ

การจัดแผ่นป้ายแผ่นป้าย (board)
หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปหลายแบบ
1. ประเภทของแผ่นพับ
........1.1 จำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่
- ไม้ เป็นวัสดุแข็งแรง สามารถตกแต่งดัดแปลงได้ง่าย สะดวกในการใช้งาน เหมาะกับการทำแผ่นป้าย
- พลาสติก เป็นวัสดุสังเคราะห์ มีหลายชนิด ชนิดที่สามารถนำมาทำแผ่นป้ายได้มีลักษณะเป็นแผ่น ขนาดความกว้างยาวเท่ากับไม้อัด
- โลหะ เป็นวัสดุที่มีความทนทานที่สุด แต่มีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะเหล็กแผ่นหรือสแตนเลสแผ่น
........1.2 จำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่
- ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ สามารถนำไปติดตั้งในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ จึงจำเป็นต้องมีขาตั้งที่มั่นคง
- ป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เป็นป้ายนิเทศน์ที่ติดตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่งอย่างถาวร ซึ่งอาจเป็นฝาผนัง หรือบริเวณพื้นที่ที่สวยงามเหมาะสม

2. เทคนิคการจัดทำแผ่นป้าย
........2.1 แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร มีลักษณะแต่ละป้ายติดตายตัวกับขาตั้งได้อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งพิงเกาะเกี่ยวกับวัสดุอื่น
........2.2 แผ่นป้ายอิสระ เป็นแผ่นป้ายอิสระ ไม่ยึดติดกับขาตั้งสามารถถอดประกอบกับขาตั้ง และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้
........2.3 แผ่นป้ายแบบแขวน เป็นแผ่นป้ายไม่ยึดติดกับขาตั้งโดยตรง สามารถถอดประกอบได้ การติดตั้งต้องใช้วิธีแขวนกับราวหรือกรอบที่ทำไว้รองรับโดยเฉพาะ ซึ่งอาจต่อเติมเสริมแต่งให้มีหลังคาขึงด้วยผ้าดิบ
........2.4 แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส (s) เป็นแผ่นป้ายที่ทำจากแผ่นพลาสติกหรือแผ่นโลหะ วัสดุทำแผ่นป้ายสามารถดัดให้เป็นรูปทรงตามต้องการได้ ทำให้ผู้ชมได้เห็นรูปทรงแผ่นป้าย ที่แปลกตาและสนใจ
........2.5 แผ่นป้ายแบบกำแพง มีความหนาเป็นพิเศษ ด้านล่างยึดติดกับฐานกล่องรูปสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมทำให้สามารถวางตั้งได้ตามลำพัง

3.การจัดป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศเป็นสื่อทัศนวัสดุประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นแผ่นป้ายที่ทำหน้าที่เสนอเนื้อหา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ผู้ชมได้เรียนรู้ตามความเหมาะสม
........1. คุณค่าของป้ายนิเทศเป็นสื่อเร้าความสนใจผู้ชมโดยใช้รูปภาพ ข้อความ และสัญลักษณ์ที่สวยงาม มีความหมายต่อผู้ชม ซึ่งประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อความหมาย เพื่อถ่ายทอดความรู้
........2. หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ์ การจัดป้ายนิเทศน์ให้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นความสนใจ และการสื่อความหมายคำนึงถึงหลักต่อไปนี้
- การกระตุ้นความสนใจ สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจผู้ชมได้ด้วยความเด่น สะดุดตา จากองค์ประกอบด้านสี เส้น พื้นผิว ขนาด รูปร่าง.
- การมีส่วนร่วม สามารถกระตุ้นให้เกิดความต้องการ เมื่ออ่านหรือชมป้ายนิเทศ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากมี อยากได้ อยากทดลอง
- การตรึงความสนใจ สามารถรักษาความสนใจให้คงอยู่ตั้งแต่ต้นจนจบ

การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
- การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ (window) เป็นการจัดเพื่อเน้นรายละเอียดด้วยรูปภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว ทำให้ภาพมีความโดดเด่นเหมาะกับเนื้อหา ต้องการถ่ายทอดรายละเอียดของความรู้และความรู้สึกด้วยรูปภาพ
- การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus) เป็นการจัดภาพที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ผู้ชมมีอิสระในการเลือกชมรูปภาพหรือเลือกอ่านเนื้อหาตามใจชอบ การจัดภาพแบบละครสัตว์จึงเหมาะกับเนื้อหาที่มีหลายหัวข้อย่อย
- การจัดภาพแบบแกน (axial) เป็นการจัดภาพอยู่ตรงกลาง และมีคำอธิบายกำกับทางด้านซ้ายหรือด้านขวา
- การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame) เป็นการจัดโดยนำภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวางเรียงต่อกัน ล้อมรอบเนื้อหาข้อความ
- การจัดภาพแบบตาราง (graid) เป็นการจัดภาพไว้ในตารางซึ่งอาจเว้นช่องใดช่องหนึ่ง หรืออาจขยายภาพใดภาพหนึ่ง เพื่อให้เกิดจังหวะระหว่างรูปภาพ ทำให้ดูแปลกตา
- การจัดภาพแบบแถบ (band) เป็นการจัดรูปภาพและเนื้อหาที่เรียงตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสุดท้าย แสดงให้เป็นลำดับขั้น เช่น การขับรถยนต์ การทำนา การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- การจัดภาพแบบทางเดิน (path) เป็นการจัดให้รูปภาพหรือเหตุการณ์เรียงกันอย่างต่อเนื่อง ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

การกำหนดบริเวณว่างในนิทรรศการ
บริเวณว่างเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดนิทรรศการ สามารถทำให้นิทรรศการมีคุณค่าและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ชมเกิดความพึงพอใจในประโยชน์ใช้สอย และความงามจากการออกแบบและการกำหนดบริเวณว่างที่เหมาะสม การเดินชมรู้สึกผ่อนคลาย จึงควรคำนึงถึงลักษณะและการออกแบบบริเวณว่างดังนี้
........1. ลักษณะของบริเวณว่างบริเวณว่างมีสองลักษณะ ได้แก่ บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย บริเวณว่างทั้งสองลักษณะมีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบซึ่งกันแลกันเสมอ
........2. การออกแบบบริเวณว่าง
- การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง องค์ประกอบแนวตั้งโดยปกติจะกินพื้นที่อากาศในแนวดิ่ง มองโดยรวมจะเป็นเส้นตั้ง ช่วยกำหนดขอบมุมของปริมาตรของที่ว่าง แต่ถ้ากำหนดให้มีองค์ประกอบลักษณะเดียวกันมากกว่า 2 องค์ประกอบขึ้นไป และวางในตำแหน่งมุมต่างกันที่ไม่ใช่แถวเดียวกัน เช่น การวางเสาจำนวน 4 ต้น แต่ละต้นวางไว้ตามมุมของพื้นที่สี่เหลี่ยม จะก่อให้เกิดปริมาตรของบริเวณว่างระหว่างเสาทั้ง 4 ต้น.
- การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล (L) หรือระนาบมุมฉาก ช่วยสร้างปริมาตรของที่ว่างในมุมฉาก เป็นระนาบแนวตั้งสองด้านบรรจบกันที่มุมใดมุมหนึ่ง ก่อให้เกิดสนามบริเวณว่างจากมุมตามแนวทแยงมุม การรวมตัวกันของบริเวณว่างที่เกิดจากระนาบแนวตั้งทั้ง 2 ด้าน สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้จากมุมกว้าง ให้มุ่งไปยังจุดสนใจเพียงจุดเดียว
........3. การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาการใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรม ควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชม โดยเฉพาะลูกค้าใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใดๆ ทุกชนิด ระหว่างทางสัญจรภายนอกกับบริเวณภายในนิทรรศการ เช่น พื้นที่ต่างระดับกัน การใช้เส้นขวางหรือสีกำหนดขอบเขต โต๊ะ แผงกั้นราว ตู้ ชั้นวางสิ่งของ

บทที่ 7สื่อในการจัดนิทรรศการ

ประเภทของสื่อในนิทรรศการ
........1. สื่อวัสดุ ได้แก่ สื่อขนาดเล็กมีน้ำหนักเบา มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้ชมนิทรรศการ เนื่องจากสื่อประเภทนี้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมความรู้และประสบการณ์ เช่น แผ่นปลิว แผนภูมิ แผนภาพ ภาพถ่าย เทปเสียง แผ่นซีด๊
........2. สื่ออุปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่หรือสื่อหนัก เป็นสื่อประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ มีส่วนประกอบเป็นเครื่องยนต์กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องคอมพิวเตอร์
........3. สื่อกิจกรรม ได้แก่ กระบวนการนำเสนอความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดหรือข้อมูลด้วยการกระทำเป็นขั้นตอน เน้นให้ผู้ชมนิทรรศการได้มีส่วนร่วมในการแสดงออก เช่น การสาธิต การทดลอง การตอบปัญหาการใช้สื่อในนิทรรศการ

สื่อวัสดุ
........1. แผ่นปลิว ในงานนิทรรศการใช้แผ่นปลิวได้หลายโอกาส ตั้งแต่ประชาสัมพันธ์งานและให้ข้อมูลเนื้อหาสาระ เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและไม่เฉพาะเจาะจง เป็นสื่อที่ลงทุนน้อย
........2. แผ่นพับ เป็นสื่อวัสดุที่ให้ข้อมูลข่าวสารได้ดี เป็นกระดาษแผ่นใหญ่นำมาพับให้มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน
........3. จุลสาร วารสาร เป็นที่นิยมมากในการจัดนิทรรศการขนาดกลางและขนาดใหญ่ มักจะจัดทำเป็นโอกาสพิเศษสำหรับนิทรรศการนั้นๆ
........4. ภาพโฆษณา เป็นสื่อทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กระตุ้นชักชวน จูงใจ ให้ผู้ชมเกิดความสนใจเชื่อถือ ศรัทธา และนำไปสู่การแสงหาข้อมูลเพิ่มเติม การใช้ภาพโฆษณาในนิทรรศการจะช่วยเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างได้ดี เช่น การเตือนให้ระวังภัย การเตือนให้ระวังในการข้ามถนน
........5. แผนภูมิ เป็นวัสดุกราฟิกที่มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์ รูปภาพและตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยายชี้แจงสรุปสาระสำคัญในนิทรรศการ ได้แก่ แผนภูมิแบบต้นไม้ แผนภูมิแบบสายธาร แผนภูมิแบบต่อเนื่อง แผนภูมิแบบองค์การ แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ แผนภูมิแบบตาราง แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ แผนภูมแบบอธิบายภาพ
........6. แผนภาพ เป็นทัศนวัสดุที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงานด้วยภาพ เช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ การทำงานของเครื่องกรองน้ำ
........7. แผนสถิติ เป็นวัสดุที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลขแผนสถิติ แต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อถือและเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้นด้วย เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ เนื้อหาที่เป๋นข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบข้อมูลลักษณะต่างๆ
........8. หุ่นจำลอง เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริงมีลักษณะเป็น 3 มิติ แสดงสัดส่วนและสีสันเหมือนของจริงทุกประการ ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ทดแทนของจริงในกรณีที่ของจริงไม่สามารถนำมาแสดงได้ เช่น การแสดงโครงสร้างลี้ลับซับซ้อนภายใน
.........9. ของจริง ได้แก่ สิ่งของที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และอาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ผู้ชมสามารถรับรู้เรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้สามารถมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส และได้สัมผัสกับบรรยากาศของจริงด้วยตนเอง

สื่ออุปกรณ์
........1. สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เป็นสื่อโสตอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการจัดนิทรรศการ ช่วยในการปรับเสียงผู้พูดให้ผู้ฟังรับรู้ได้อย่างชัดเจน ทำให้สะดวกในการสื่อความหมายและการถ่ายทอดความรู้ในนิทรรศการ
........1.1 ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญานไฟฟ้าความถี่เสียง
........1.2 เครื่องขยายเสียง การทำงานของเครื่องขยายเสียงมี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนปรับแต่งและควบคุมเสียง ส่วนที่ 2 ส่วนขยายเสียง ทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณที่ปรับแต่งแล้วจากส่วนแรกให้มีกำลังขยายเพิ่มขึ้น
........1.3 ลำโพง ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเสียงจากแหล่งกำเนิด
........2. สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย
........2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ เป็นเครื่องฉายที่ใช้แผ่นโปร่งใส มีวิธีใช้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เครื่องฉายข้ามศีรษะที่ดีคือมีกำลังส่องสว่างสูง สามารถเปลี่ยนหลอดได้สะดวก
........2.2 เครื่องฉายแอลซีดี เป็นเครื่องฉายที่แสดงผลด้วยคริสทัลโมเลกุล ซึ่งอัดอยู่กลางระหว่างแผ่นกระจก
........2.3 เครื่องวิชวลไลเซอร์ เป็นเครื่องฉายแปลงสัญญาณที่ฉายได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การฉายภาพนิ่งสามารถฉายได้ทั้งภาพทึบแสง ภาพโปร่งแสงและภาพจากวัสดุ 3 มิติ

สื่อกิจกรรม
........1. การบรรยาย คือการถ่ายทอดข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการสื่อสารด้วยการบอกเล่า เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จัดประกอบนิทรรศการ การบรรยายเป็นกิจกรรมที่ทำได้สะดวกไม่ยุ่งยาก
........2. การประชุมสัมมนา เป็นการจัดลักษณะในกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์หรือเป็นการระดมความคิด เหมาะสำหรับกรณีที่ผู้เข้าร่วมงานสัมมนามีประสบการณ์มากและมีความรู้ระดับอาวุโส
........3. การสาธิต เป็นกิจกรรมที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ด้วยการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมกับการบรรยายหรืออธิบายเป็นลำดับ.
.......4. การเล่นเกม เป็นกิจกรรมการแข่งขันที่มีกติกาสำหรับการเล่น อาจแข่งกับตนเองหรือผู้อื่น เกมมีประโยชน์หลายอย่างทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน ร่าเริง สนุกสนาน ตื่นเต้น กระตือรือร้น มีระเบียบ อยู่ในเกณฑ์
........5. การจัดประกวดและการแข่งขันทักษะต่างๆ สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เข้าประกวดแข่งขันและผู้ชมนิทรรศการได้ดี เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถได้รวดเร็ว
.........................................................